รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ
รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ
บริการจองชื่อนิติบุคคล
บริการจัดเตรียมแบบฟอร์มจดทะเบียน
บริการจดทะเบียนจัดตั้งห้างฯ
บริการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
บริการขอภาษีมูลค่าเพิ่ม
บริการให้คำปรึกษาทางด้านจดทะเบียน
การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัด
จะจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนได้อย่างไร
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะทำการค้าร่วมกัน
โดยมุ่งหวังที่จะแบ่งผลกำไรจากการดำเนินกิจการค้านั้น
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญ ๆ
ห้างหุ้นส่วนเป็นรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่มีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อป้องกัน
ปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงควรทำความตกลงกันใน
เรื่องสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน
1. ตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของ
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อมิให้
เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อ ที่คล้ายหรือซ้ำกัน ให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ตรวจสอบ
ชื่อที่ต้องการจอง ว่าชื่อดังกล่าวต้องไม่เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกัน หรือคล้ายคลึงกันกับชื่อที่ได้จองหรือ
ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว หรือขัดระเบียบ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. 2561 ข้อ 38 (1) – (11) และจองชื่อได้ทันที *ดูหลักเกณฑ์การใช้ชื่อนิติบุคคล*
ตรวจสอบและจองชื่อนิติบุคคลได้ที่ : https://reserve.dbd.go.th/
2. จำนวนเงินลงทุนหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะนำมาลงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วน สามารถลงทุน
ด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ (ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วย แรงงานไม่ได้) แต่การลงทุน
ด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงินและกำหนด ระยะเวลาชำระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วน
จะนำมาลงทุน ซึ่งควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียน จัดตั้งห้างหุ้นส่วน
3. กำหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนจะประกอบกิจการ หรือ
ที่เรียกว่า “วัตถุที่ประสงค์” การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้เป็นหลาย ๆ กิจการ นั้นอาจไม่เป็นผลดี เนื่องจาก
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ตนถนัด และให้อำนาจกว้างขวาง
มากเกินไป *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
4. แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ และข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการ คือ
ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น)
5. การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน
6. สถานที่ที่จะใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
7. เรื่องอื่น ๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ
1. ให้ผู้ขอจดทะเบียนต้องจัดทำดวงตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน
2. แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถ Download ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือคลิกที่นี่
กรอกรายละเอียด (โดยวิธีการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์) ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้
ครบถ้วน ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน
3. ผู้เป็นหุ้นส่วนลงลายมือชื่อด้วยตัวเอง ให้ครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 3 การยื่นขอจดทะเบียน
การยื่นขอจดทะเบียนทำได้ 2 วิธี คือ
1. ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน กรณีนี้หุ้นส่วนผู้จัดการจะไปยื่นขอ
จดทะเบียนด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนก็ได้
2. นอกจากนี้สามารถยื่นจดทะเบียนทางระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)
ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ข้อมูลที่ใช้
1. ชื่อของห้างหุ้นส่วน
2. วัตถุประสงค์ของห้าง
3. ที่ตั้งสานักงานแห่งใหญ่และ/หรือสาขา
4. ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ อาชีพ ยี่ห้อและสิ่งที่นำมาลงหุ้น
5. ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ (ต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด) กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ ทุกคน
6. ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)
7. ดวงตราสำคัญของห้าง *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดดวงตรา*
8. รายการอื่น ๆ ที่เห็นสมควรให้ประชาชนทราบ (ถ้ามี)
เอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน
ในการขอจดทะเบียนต้องเตรียมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
1. คำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน (แบบ หส. 1)
2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
3. รายการจดทะเบียน (แบบ หส.2) ห้างหุ้นส่วนจำกัดใช้ 3 หน้า/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้เฉพาะหน้า 1 และ หน้า 3
4. วัตถุประสงค์ (แบบ ว.)
5. แบบ สสช. 1
6. ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
7. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
8. สำเนาหลักฐานการรับชำระเงินลงหุ้นที่ห้างหุ้นส่วนได้ออกให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
9. กรณีห้างหุ้นส่วนมีผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นคนต่างด้าวลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนไม่ถึงร้อยละ 50 ของเงินลงหุ้นให้ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยแต่ละรายประกอบคำขอจดทะเบียน โดยเอกสารดังกล่าวต้องแสดงจำนวนเงินที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่นำมาลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละราย ตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ที่ 205/2555 ลงวันที่ 22พฤศจิกายน 2555
10. กรณีทุนที่ขอจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท ให้จัดส่งเอกสารเพิ่มเติมตาม คำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ที่ 1/2566 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566
11. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
12. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์เรื่องผู้รับรองลายมือชื่อ*
13. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรอง
ความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจาตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง
สถานที่จดทะเบียนจัดตั้ง
หน่วยงานในสังกัดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ดังนี้
1. หน่วยงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 แห่ง ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้ำ)สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-6 (ปิ่นเกล้า) พหลโยธิน รัชดาภิเษก สี่พระยา ศรีนครินทร์ (ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค)และแจ้งวัฒนะ(ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)) **ดูรายละเอียดที่ตั้ง**
2. หน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด จังหวัดละ 1 แห่ง รวมถึงสาขาของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญอีก 4 แห่ง คือแม่สอด เมืองพัทยา หัวหิน และเกาะสมุย
จะจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนได้อย่างไร
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะทำการค้าร่วมกัน
โดยมุ่งหวังที่จะแบ่งผลกำไรจากการดำเนินกิจการค้านั้น
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญ ๆ
ห้างหุ้นส่วนเป็นรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่มีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อป้องกัน
ปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงควรทำความตกลงกันใน
เรื่องสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน
1. ตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของ
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อมิให้
เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อ ที่คล้ายหรือซ้ำกัน ให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ตรวจสอบ
ชื่อที่ต้องการจอง ว่าชื่อดังกล่าวต้องไม่เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกัน หรือคล้ายคลึงกันกับชื่อที่ได้จองหรือ
ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว หรือขัดระเบียบ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. 2561 ข้อ 38 (1) – (11) และจองชื่อได้ทันที *ดูหลักเกณฑ์การใช้ชื่อนิติบุคคล*
ตรวจสอบและจองชื่อนิติบุคคลได้ที่ : https://reserve.dbd.go.th/
2. จำนวนเงินลงทุนหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะนำมาลงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วน สามารถลงทุน
ด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ (ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วย แรงงานไม่ได้) แต่การลงทุน
ด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงินและกำหนด ระยะเวลาชำระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วน
จะนำมาลงทุน ซึ่งควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียน จัดตั้งห้างหุ้นส่วน
3. กำหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนจะประกอบกิจการ หรือ
ที่เรียกว่า “วัตถุที่ประสงค์” การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้เป็นหลาย ๆ กิจการ นั้นอาจไม่เป็นผลดี เนื่องจาก
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ตนถนัด และให้อำนาจกว้างขวาง
มากเกินไป *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
4. แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ และข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการ คือ
ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น)
5. การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน
6. สถานที่ที่จะใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
7. เรื่องอื่น ๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ
1. ให้ผู้ขอจดทะเบียนต้องจัดทำดวงตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน
2. แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถ Download ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือคลิกที่นี่
กรอกรายละเอียด (โดยวิธีการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์) ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้
ครบถ้วน ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน
3. ผู้เป็นหุ้นส่วนลงลายมือชื่อด้วยตัวเอง ให้ครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 3 การยื่นขอจดทะเบียน
การยื่นขอจดทะเบียนทำได้ 2 วิธี คือ
1. ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน กรณีนี้หุ้นส่วนผู้จัดการจะไปยื่นขอ
จดทะเบียนด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนก็ได้
2. นอกจากนี้สามารถยื่นจดทะเบียนทางระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)
ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ข้อมูลที่ใช้
1. ชื่อของห้างหุ้นส่วน
2. วัตถุประสงค์ของห้าง
3. ที่ตั้งสานักงานแห่งใหญ่และ/หรือสาขา
4. ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ อาชีพ ยี่ห้อและสิ่งที่นำมาลงหุ้น
5. ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ (ต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด) กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ ทุกคน
6. ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)
7. ดวงตราสำคัญของห้าง *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดดวงตรา*
8. รายการอื่น ๆ ที่เห็นสมควรให้ประชาชนทราบ (ถ้ามี)
เอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน
ในการขอจดทะเบียนต้องเตรียมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
1. คำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน (แบบ หส. 1)
2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
3. รายการจดทะเบียน (แบบ หส.2) ห้างหุ้นส่วนจำกัดใช้ 3 หน้า/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้เฉพาะหน้า 1 และ หน้า 3
4. วัตถุประสงค์ (แบบ ว.)
5. แบบ สสช. 1
6. ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
7. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
8. สำเนาหลักฐานการรับชำระเงินลงหุ้นที่ห้างหุ้นส่วนได้ออกให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
9. กรณีห้างหุ้นส่วนมีผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นคนต่างด้าวลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนไม่ถึงร้อยละ 50 ของเงินลงหุ้นให้ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยแต่ละรายประกอบคำขอจดทะเบียน โดยเอกสารดังกล่าวต้องแสดงจำนวนเงินที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่นำมาลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละราย ตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ที่ 205/2555 ลงวันที่ 22พฤศจิกายน 2555
10. กรณีทุนที่ขอจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท ให้จัดส่งเอกสารเพิ่มเติมตาม คำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ที่ 1/2566 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566
11. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
12. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์เรื่องผู้รับรองลายมือชื่อ*
13. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรอง
ความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจาตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง
สถานที่จดทะเบียนจัดตั้ง
หน่วยงานในสังกัดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ดังนี้
1. หน่วยงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 แห่ง ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้ำ)สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-6 (ปิ่นเกล้า) พหลโยธิน รัชดาภิเษก สี่พระยา ศรีนครินทร์ (ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค)และแจ้งวัฒนะ(ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)) **ดูรายละเอียดที่ตั้ง**
2. หน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด จังหวัดละ 1 แห่ง รวมถึงสาขาของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญอีก 4 แห่ง คือแม่สอด เมืองพัทยา หัวหิน และเกาะสมุย